วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ เอ

ความรู้ทั่วไป   ลงวันที่

วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ เอ

โรคตับอักเสบเอ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ผู้ป่วยมีอาการแบบเฉียบพลัน เริ่มด้วยมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด และอาจมีอาการตัวเหลืองตาเหลืองตามมาโดยปกติโรคนี้มักหายขาด และเมื่อหายแล้วจะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น ในเด็กส่วนมากจะเป็นการติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย อาการจะเป็นมากขึ้นถ้าเป็นในผู้ป่วยที่อายุเพิ่มขึ้น

ปฏิกิริยา

พบเพียงเล็กน้อย อาการที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ที่พบบ่อยได้แก่ ปวดบริเวณที่ฉีด (น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ที่มีรายงานว่ารุนแรง) และจะหายเป็นปกติได้เอง บวมและแดงเล็กน้อย พบประมาณร้อยละ 4 ของผู้ที่ได้รับวัคซีนปฏิกิริยาทั่วไป (systemic adverse events) ไม่รุนแรงและหายได้ภายใน 24 ชั่วโมง ได้แก่อาการปวดศีรษะครั่นเนื้อตัว อ่อนเพลีย มีไข้ คลื่นไส้ เบื่ออาหาร อาการเหล่านี้พบประมาณร้อยละ 1-13.9 ของผู้ที่ได้รับวัคซีนทั้งหมด

วัคซีนนี้สามารถป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสตับอักเสบเอได้ภายใน 2-4 สัปดาห์

หลังได้รับวัคซีน 1โด๊ส ร่างกายจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างน้อย 1 ปีการฉีดกระตุ้นในระยะ 6-12 เดือน หลังจากครั้งแรกจะกระตุ้นให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันในระยะยาวอย่างน้อย 20 ปี

การป้องกันและควบคุมไวรัสตับอักเสบเอ

ในเชิงนโยบายขึ้นอยู่กับว่าเราจะมีนโยบายกวาดล้างไวรัสตับอักเสบเอ หรือควบคุมป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอ ถ้ากวาดล้างไวรัสตับอักเสบเอ เราจะต้องป้องกันการติดเชื้อทั้งในเด็กเล็กและในผู้ใหญ่ ในเด็กเล็กส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแต่สามารถแพร่กระจายโรค ดังนั้นการกวาดล้างจึงจำเป็นต้องป้องกันในเด็กเล็กด้วยการให้วัคซีน สำหรับการควบคุมและการป้องกันโรค จุดมุ่งหมาย

การเกิดโรคจะอยู่ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ เพราะเมื่อติดเชื้อจะมีโอกาสป่วยเป็นตับอักเสบได้มากกว่า ในการป้องกันโรคควรมุ่งเน้นในกลุ่มเด็กและเด็กวัยรุ่น

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ควรได้รับวัคซีน

ผู้ที่ควรได้รับวัคซีนได้แก่ เด็กที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสถานรับเลี้ยงเด็กโดยเฉพาะเด็กที่มีความพิการทางสมองและระดับสติปัญญาผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดการระบาดได้บ่อย เด็กหรือผู้ใหญ่ที่มีโรคตับเรื้อรังอยู่ก่อนและไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบเอ เด็กหรือผู้ใหญ่ที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวหรือพำนักยังประเทศที่มีอุบัติการณ์และความชุกของโรคสูง ควรได้รับวัคซีนอย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ก่อนการเดินทาง

ข้อควรระวังของการให้วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ

  1. แม้ว่าจะยังไม่มีรายงานผลการใช้วัคซีนต่อการพัฒนาของทารกในครรภ์ก็ตาม ยังแนะนำในการฉีดให้กับหญิงตั้งครรภ์
  2. ควรใช้อย่างระมัดระวังในผู้ที่มีเกร็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia) หรือผู้ที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด
  3. ผู้ที่แพ้ส่วนประกอบของวัคซีน

Obviously you are not alone in your need to have your essay composed, and you could affordable-papers.net always hire a essay writing company that will assist you.

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ห่วงอนามัยคุมกำเนิด โดย พญ.สิริกุล ฐานพงษ์ และพว.วีณา อวยชัย หน่วยสูตินรีเวชกรรม ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ( Intra Uterine Device ) เป็นอุปกรณ์ คุมกำเนิดขนาดเล็กที่ใส่เข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ระยะเวลาของการคุมกำเนิดขึ้นกับชนิดของห่วงอนามัย ชนิดของห่วงอนามัย 1. ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมน (hormonal intrauterine device หรือ intrauterine system) มีฮอร์โมน levonorgestrel เคลือบอยู่ ทำให้ผนังมดลูกบางตัว ไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนและเพิ่มความหนาของมูกที่ปากมดลูก นอกจากใช้คุมกำเนิดแล้วยังสามารถใช้รักษาความ ผิดปกติอื่น ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ประจำเดือนมามาก หลังใส่ห่วงชนิดนี้อาจมีเลือดออกผิดปกติ ในช่วง 3 เดือนแรก จากนั้นปริมาณระดูจะค่อยๆ ลดลงจนเกิดภาวะไม่มีระดูภายใน 1 ปีหลังใส่ ตัวอย่างห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมน ได้แก่ Mirena สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี 2. ห่วงอนามัยชนิดหุ้มทองแดง (copper-containing intrauterine device มีสารทองแดงที่ปล่อยออกจากห่วงอนามัย ออกฤทธิ์เพื่อกระตุ้นการอักเสบในโพรงมดลูกและขวางตัวการฝังตัวของตัวอ่อน […]