ผลข้างเคียงทั่วไปและการดูแลตนเองเบื้องต้นจากยาเคมีบำบัด

ผลข้างเคียงทั่วไปและการดูแลตนเองเบื้องต้นจากยาเคมีบำบัด

โดย นพ. วรเศรษฐ์ สายฝน

ผลข้างเคียง : คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร

คำแนะนำ :

  • กินอาหารย่อยง่าย เลี่ยงอาหารครีม มัน เนย รสจัด ของทอด ของมัน
  • อาจลองกินอาหารรสชาติเปรี้ยว เช่น น้ำมะนาว / อาหารแห้งๆ เช่น ขนมปังปิ้ง ขนมปังกรอบ
  • กินครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยๆ
  • กินช้าๆ เคี้ยวละเอียด เพื่อให้ย่อยง่าย
  • หากการรับรสผิดปกติ รู้สึกขมตลอดเวลา ควรหาลูกอมที่ทำให้รู้สึกสดชื่น
  • หากกินอาหารได้น้อยลงมาก อาจกินอาหารเสริมทางการแพทย์

————————————————————————————–

ผลข้างเคียง : ท้องเสีย

คำแนะนำ :

  • ดื่มน้ำมากๆอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร
  • ดื่มผงเกลือแร่ผสมกับน้ำบ่อยๆ
  • กินยาแก้ท้องเสียตามแพทย์สั่ง

————————————————————————————–

ผลข้างเคียง : ช่องปากอักเสบ

คำแนะนำ :

  • บ้วนปากอย่างน้อย 4 ครั้ง/วัน ด้วย น้ำเกลือ หรือ ผสมเกลือ 2 ช้อนชากับเบกกิ้งโซดา 2 ช้อนชาในน้ำ 1 ลิตร
  • แปรงฟันด้วยแปรงขนอ่อนนุ่มหลังอาหารทุกมื้อและก่อนนอน
  • กินอาหารอ่อน เคี้ยวง่าย เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไอศกรีม วุ้น พุดดิ้ง แตงโม
  • เลี่ยงอาหารรสจัด
  • เลี่ยงน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะทำให้ระคายเคืองมากขึ้น

————————————————————————————–

ผลข้างเคียง : ผิวหนัง/เล็บคล้ำ

คำแนะนำ :

  • ไม่เป็นอันตรายใดๆ แต่อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์และความสวยงาม
  • เลี่ยงการถูกแสงแดดนานๆ
  • ตัดเล็บให้สั้น

————————————————————————————–

ผลข้างเคียง : ผมร่วง

คำแนะนำ :

  • สระผมด้วยแชมพูเด็ก หวีผมเบาๆ หลีกเลี่ยงการย้อมหรือดัดผม
  • ใส่หมวกไหมพรมหรือผ้าคลุม หากรู้สึกเย็นที่ศีรษะ

————————————————————————————–

ผลข้างเคียง : ชาปลายมือปลายเท้า (ยาที่มักทำให้ชา ได้แก่ oxaliplatin, paclitaxel, cisplatin, carboplatin, docetaxel)

คำแนะนำ :

  • หากเริ่มชาเล็กน้อย ควรหลีกเลี่ยงการใช้ของมีคม และเลี่ยงการสัมผัสของเย็นหรือของร้อน
  • หากชาจนรบกวนชีวิตประจำวัน เช่น ติดกระดุมลำบาก เดินแล้วรองเท้าหลุด ให้แจ้งแพทย์ในวันที่นัดตรวจ

————————————————————————————–

ผลข้างเคียง : ฝ่ามือ ฝ่าเท้าอักเสบ (ยาที่มักทำให้มีอาการมือเท้าอักเสบ ได้แก่ capecitabine, doxorubicin)

คำแนะนำ : 

  • ทาครีมให้ผิวหนังชุ่มชื้น
  • หลีกเลี่ยงการเสียดสีของฝ่ามือ ฝ่าเท้า เช่น การเดินนานๆ การใส่รองเท้าที่คับแน่นเกินไป
  • ตรวจดูฝ่ามือฝ่าเท้าทุกวัน หากมีอาการเจ็บเมื่อสัมผัสของร้อน เจ็บเท้าตอนเดิน เจ็บตอนบิดลูกบิด ให้หยุดยาชั่วคราว เมื่ออาการเจ็บหายไปให้กินยาต่อได้
  • หากผิวลอก มีตุ่มน้ำ หรือแตกเป็นแผล ให้หยุดยาและมาพบแพทย์

————————————————————————————–

ผลข้างเคียง : ไข้ จากเม็ดเลือดขาวต่ำ

คำแนะนำ :

  • หากมีไข้ > 38 องศาเซลเซียส หรือหนาวสั่น โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 10-14 หลังได้ยาเคมีบำบัด (เป็นช่วงที่เม็ดเลือดขาวต่ำที่สุด) ต้องมาเจาะเลือดดูปริมาณเม็ดเลือดขาว หากพบภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำต้องมาโรงพยาบาลทันที

————————————————————————————–

ผลข้างเคียง : อ่อนเพลีย

คำแนะนำ :

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ทำกิจวัตรเท่าที่จำเป็น
  • อาการอ่อนเพลียมักจะค่อยๆดีขึ้นเองเมื่อเวลาผ่านไป

————————————————————————————–

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกโรคมะเร็ง

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 2632-2633

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]