รู้จักมะเร็งเต้านม

                                                                       รู้จักมะเร็งเต้านม                                                โดย นพ. วรเศรษฐ์ สายฝน

 

  • เต้านม อวัยวะที่แสดงถึงลักษณะทางเพศหญิงอย่างหนึ่ง ประกอบไปด้วยต่อมน้ำนม ท่อน้ำนม ไขมัน เส้นเลือด ต่อมน้ำเหลือง เต้านมวางอยู่บนกล้ามเนื้อหน้าอกและซี่โครง มีหน้าที่ในการสร้างน้ำนม โดยเต้านมจะขยายขนาดตอบสนองกับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งผลิตจากรังไข่เป็นหลัก
  • มะเร็งเต้านมเกิดเนื่องการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ท่อน้ำนมหรือต่อมน้ำนมทำให้เกิดเป็นก้อนเนื้องอก โดยหากไม่ได้รับการรักษา มะเร็งจะโตขึ้นและกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ก่อนที่จะกระจายไปอวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก จนเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเสียชีวิต สำหรับประเทศไทยนั้นข้อมูลจาก Globocan ปี 2020 มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยมากที่สุดในเพศหญิง (22.8%) ตามมาด้วยมะเร็งลำไส้ (10.7%) และมะเร็งปากมดลูก (9.4%) ตามลำดับ

 

ปัจจัยเสี่ยง

  • เพศหญิง (มีโอกาสพบในเพศชายเพียง 1% ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด)
  • อายุที่มากขึ้น (เริ่มพบได้บ่อยตั้งแต่อายุ 40-50 ปี)
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่กินยาฮอร์โมนทดแทน
  • การมีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ เนื่องจากอาจสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านมชนิดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งพบได้

 

อาการของมะเร็งเต้านม

  • คลำพบก้อนที่เต้านม (90%)
  • ความผิดปกติของหัวนม ได้แก่ มีการดึงรั้งจนหัวนมบุ๋มลง มีน้ำเหลือง/เลือดออกทางหัวนม
  • คลำพบต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ (5-10%)

 

ดังนั้นหากคลำพบก้อนที่เต้านมหรือรักแร้ แม้ว่าจะไม่มีอาการปวด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรีบวินิจฉัยสาเหตุ

 

ระยะของโรคมะเร็งเต้านม

  • ระยะที่ 1: ก้อนมะเร็งเต้านมขนาดไม่เกิน 2 cm และยังไม่มีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
  • ระยะที่ 2: ก้อนมะเร็งเต้านม 2-5 cm หรือมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
  • ระยะที่ 3: ก้อนมะเร็งที่ลุกลามมาถึงผนังหน้าอก หรือมีการแตกเป็นแผล หรือมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ขนาดใหญ่
  • ระยะที่ 4: มีการกระจายของมะเร็งออกไปนอกเต้านมและต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงแล้ว ได้แก่ การกระจายไป ปอด ตับ สมอง กระดูก

 

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

เนื่องจากมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในเพศหญิง และเป็นหนึ่งในมะเร็งไม่กี่ชนิดที่สามารถตรวจคลำได้ด้วยมือจากภายนอก ข้อมูลในปัจจุบันพบว่าการตรวจพบมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะต้นสามารถเพิ่มโอกาสในการรักษาหายขาดได้ กล่าวคือหากได้รับการรักษาที่เหมาะสม โอกาสรอดชีวิตที่ 5 ปีของมะเร็งเต้านมระยะที่ 1 และ 2 สูงถึง 98% และ 88% ตามลำดับ ตามแนวทางของสถาบันมะเร็งแห่งชาติแนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ดังนี้

  1. การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง: ควรคลำเต้านมทุกเดือนตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ หลังหมดประจำเดือน 2-3 วัน เนื่องจากจะคัดเต้านมน้อย
  2. การตรวจเต้านมโดยแพทย์: แนะนำให้ตรวจปีละ 1 ครั้งในผู้ป่วยที่อายุ 40 ปีขึ้นไป
  3. การถ่ายภาพเอ็กเรย์เต้านม (Mammography) เป็นการตรวจที่มีความไวมากกว่าการคลำ สามารถตรวจพบก้อนมะเร็งขนาดเล็กๆได้ อาจทำร่วมกับการตรวจอัลตร้าซาวด์ (ultrasonography) ในคนไข้ที่เนื้อเต้านมค่อนข้างแน่น แนะนำให้เริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 40 ปี โดยตรวจต่อเนื่องทุก 1-2 ปี หรือถี่กว่านั้นหากตรวจพบความผิดปกติ

หมายเหตุ ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านม เช่น มีประวัติญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ที่อายุน้อยกว่า 40 ปี ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเร็วขึ้น คือควรตรวจตั้งแต่อายุที่ญาติเป็นมะเร็งลบด้วย 5-10 ปี

 

โดยเมื่อตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจคัดกรอง แพทย์จะแนะนำให้ทำการตรวจชิ้นเนื้อเต้านมหรือต่อมน้ำเหลือง โดยใช้เข็มเจาะตัดเนื้อเยื่อ (core needle biopsy) หรือใช้เข็มเจาะดูดเซลล์ (Fine needle aspiration) เพื่อนำตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือเซลล์ไปตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อหาชนิดของมะเร็งเต้านม

 

ชนิดของมะเร็งเต้านม

สามารถแบ่งมะเร็งเต้านมได้โดยใช้หลายเกณฑ์ เช่น ตามลักษณะทางพยาธิวิทยา หรือตามการแสดงออกของตัวรับที่ผิวของเซลล์มะเร็ง ซึ่งมีผลต่อการเลือกใช้ยารักษาที่แตกต่างกัน ในที่นี้จะกล่าวถึงการแบ่งชนิดตามเกณฑ์ของตัวรับที่ผิวเซลล์เป็นหลัก

  1. ชนิดที่มีการสร้างตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน: มักพบในผู้ป่วยสูงอายุ การตรวจพบตัวรับชนิดนี้ ทำให้การรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมนเอสโตรเจนช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตได้
  2. ชนิดที่มีการสร้างตัวรับเฮอร์ทู (HER-2): สัมพันธ์กับมะเร็งที่ลุกลามไว การรักษาด้วยยามุ่งเป้าชนิดต้าน HER-2 สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้
  3. ชนิดที่ไม่มีการสร้างตัวรับใดๆ: การรักษาหลักยังเป็นการใช้ยาเคมีบำบัด

การรักษามะเร็งเต้านม

  • การผ่าตัด แบ่งออกเป็น
    • การผ่าตัดเต้านมทั้งข้าง (Mastectomy)
    • การผ่าตัดเฉพาะก้อนมะเร็ง (Lumpectomy) ในผู้ป่วยมะเร็งระยะต้น
    • การผ่าตัดเต้านมหร้อมกับการสร้างเต้านมใหม่
  • การฉายแสง
  • การรักษาด้วยยา ได้แก่
    • ยาเคมีบำบัด
    • ยามุ่งเป้า
    • ยาต้านฮอร์โมน
    • ยาภูมิคุ้มกันบำบัด

โดยแพทย์อาจใช้การรักษาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือใช้การรักษาหลายๆอย่างร่วมกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรค อายุและความแข็งแรงของผู้ป่วย เป็นต้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

คลินิกโรคมะเร็ง

  • โทร 02 849 6600 ต่อ 2632-2633

บทความที่เกี่ยวข้อง

เบื่อไหมสายจมูก

การทำสายให้อาหารทางหน้าท้อง (Percutaneous Gastrostomy: PEG) โดย พญ. เปรมกมล ภัทรอิทธิกุล ประโยชน์ของการทำ Percutaneous Gastrostomy (PEG) การให้อาหารและของเหลว: PEG ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกลืนหรือรับประทานอาหารทางปากได้รับสารอาหารและของเหลวที่จำเป็นผ่านทางท่อที่เชื่อมต่อกับกระเพาะอาหาร การบริหารยา: สามารถใช้เพื่อการบริหารยาที่จำเป็นให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับยาทางปากได้ ลดความเสี่ยงของการสำลัก: ช่วยลดความเสี่ยงของการสำลักอาหารและของเหลวเข้าปอด ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ปรับปรุงคุณภาพชีวิต: ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกลืนหรือรับประทานอาหาร ทำให้สามารถรับสารอาหารและของเหลวได้อย่างเพียงพอ ระยะเวลาการใช้ที่ยาวนาน: เป็นวิธีการที่มีความทนทานและสามารถใช้งานได้นาน เมื่อเทียบกับการให้อาหารผ่านท่อชั่วคราว ความสะดวกสบายและปลอดภัย: PEG มีความปลอดภัยและมีความสะดวกสบายสำหรับผู้ป่วย เมื่อเทียบกับวิธีการให้อาหารอื่นๆ เช่น การให้อาหารทางสายยางจมูก (NG tube)   กลุ่มผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการทำ Percutaneous Gastrostomy (PEG) ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกลืน: เช่น ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดอาหารตีบ (Esophageal Stricture) หรือภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) ที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บทางสมองหรือกระดูกสันหลัง: เช่น ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บทางสมองหรือกระดูกสันหลังที่ส่งผลต่อการกลืน ผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก คอ หรือหลอดอาหาร: […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 29

GJ E-Magazine ฉบับที่ 29 (เดือนตุลาคม 2567) “โรคระบบทางเดินปัสสาวะ” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

โรคอ้วนทุกระดับ เรารักษาได้

โรคอ้วนทุกระดับ เรารักษาได้ โดย พญ. เปรมกมล ภัทรอิทธิกุล (แพทย์ศัลยศาสตร์ผ่าตัดส่องกล้อง) เมื่อไหร่ถึงเรียกว่าอ้วน ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ³ 30 kg/m2 Body Mass Index (BMI) =       (น้ำหนัก kg) (ส่วนสูง เมตร)2 ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกณฑ์การแบ่ง < 18.5 น้ำหนักน้อย 18.5 – 24.9 น้ำหนักปกติ 25 – 29.9 น้ำหนักเกิน 30 – 34.9 โรคอ้วนระดับที่ 1 35 – 39.9 โรคอ้วนระดับที่ 2 ³ 40 โรคอ้วนระดับที่ 3 หรือ โรคอ้วนทุพพลภาพ   Body fat […]

Office Syndrome กับศาสตร์การแพทย์แผนจีน

Office Syndrome กับศาสตร์การแพทย์แผนจีน โดย พจ. ธีรวุฒิ ชาญศิริเจริญกุล Office Syndrome คืออะไร เป็นโรคที่คนยุคใหม่เริ่มเป็นกันมากขึ้นเรื่อย จากพฤติกรรมของคนเราที่เปลี่ยนไป ซึ่งแต่ก่อนคนเรามักจะมีกิจกรรมมากกว่านี้ เช่นการเดิน เคลื่อนไหว การออกแรงทำงาน หรือออกกำลังกายที่ลดลง เปลี่ยนไปเป็นการทำงานหรือใช้มือถือเป็นเวลานาน ๆ  ก็เลยทำให้เราใช้แต่กล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ และเป็นเวลานาน ๆ ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง หากปล่อยไว้นาน ๆ อาจทำให้อาการมีการลุกลามมากขึ้น ทำให้มีอาการปวดหัวคล้ายไมเกรน หรืออาจจะเกิดโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้ออื่น ๆ ตามมาได้ด้วย เช่น กระดูกคอเสื่อม หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท วิธีการรักษา เป็นการสอดเข็มขนาดเล็กและบางเข้าไปในจุดฝังเข็มเฉพาะบนร่างกาย เป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยการฝังเข็มช่วยลดการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เช่น substance p , prostaglandin, cyclooxygenase-2 (COX-2)  ปรับปรุงการไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อที่มีอาการปวดหรือชา  […]