ระดับน้ำตาลในเลือดกับการออกกำลังกาย

ระดับน้ำตาลในเลือดกับการออกกำลังกาย

โดย นางสาวอ้อมเดือน  ชื่นวารี  นักกายภาพบำบัด

การออกกำลังกายช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างไร

  • ช่วยเพิ่มความไวของอินซูลิน เนื่องจากระหว่างออกกำลังกาย กล้ามเนื้อจะนำน้ำตาลในเลือดไปใช้
  • เมื่อกล้ามเนื้อมีการหดตัวหรือทำงาน ขณะทำกิจกรรมต่างๆ น้ำตาลในเลือดจะถูกนำไปใช้เป็นพลังงาน

ผลของการออกกำลังกายต่อระดับน้ำตาลในเลือด

  • ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการออกกำลังกาย ซึ่งหลังออกกำลังกาย ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดลง แล้วลดลงมากกว่า 24 ชั่วโมง ทำให้สามารถลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้
  • การออกกำลังกายที่แนะนำ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน คือ การเดิน ขี่จักรยาน การออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน (ยางยืดหรือดัมเบล) และการฝึกการทรงตัว เป็นต้น และควรมี

**การ warm up /ก่อนออกกำลังกาย 5-10 นาที และ cool down /หลังออกกำลังกาย 10 นาที ทุกครั้ง

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขณะออกกำลังกาย

ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับยาหรือเป็นเบาหวานจากพันธุกรรม จะมีความเสี่ยงเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขณะออกกำลังกาย (ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 100 mg/dL) ซึ่งมีอาการดังนี้ 

  • เหงื่อออกมากผิดปกติ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • มึนงง/เวียนศีรษะ     
  • มือสั่น
  • กระสับกระส่าย
  • รู้สึกหิว
  • อ่อนเพลีย/ไม่มีแรง      
  • ตาพร่า

ถ้าหากมีอาการเหล่านี้ควรปฏิบัติ ดังนี้

  • อมลูกอมที่มีน้ำตาล 4 กรัม (ประมาณ 1-2 เม็ด)
  • น้ำผลไม้  ½  แก้ว
  • น้ำผสมน้ำหวาน/น้ำผึ้ง ½  ครึ่งช้อน
  • แล้วควรวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากนี้ 15 นาที หากน้ำตาลยังไม่ลดลงควรปรึกษาแพทย์

การปฏิบัติตนก่อนออกกำลังกาย 

  • ควรรับประทานอาหารก่อนอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง
  • ควรพกลูกอมหรือน้ำหวาน 
  • พกน้ำ เพื่อจิบระหว่างออกกำลังกาย
  • แต่งกายและสวมรองเท้าให้เหมาะสมกับการออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อรัดรูป
  • สังเกตอาการผิดปกติขณะออกกำลังกาย เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรหยุดและปรึกษาแพทย์

เว็บไซด์อ้างอิง:

www.americandiabetes.org   สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563

www.siphhospital.com  สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563

www.bangkokpattayahospital.com  สืบค้นเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2563

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติ่ม

บทความที่เกี่ยวข้อง

GJ E-Magazine เล่มที่ 27

GJ E-Magazine ฉบับที่ 27 (เดือนเมษายน 2567) “โรคปอดกับการสูบบุหรี่” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด นพ.คมน์สิทธิ์ ทองธรรมชาติ (อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา) มะเร็งปอดคืออะไร มะเร็งปอดคือโรคที่เซลล์ในหลอดลมหรือถุงลมเจริญเติบโตมากผิดปกติจนเป็นก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ และสามารถแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ 2 ชนิด คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก และ ชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก ซึ่งกลุ่มหลังพบได้ 90% ของมะเร็ง และกลุ่มนี้ยังแยกย่อยออกไปเป็นชนิดต่าง ๆ เช่น adenocarcinoma ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาด้วยยากลุ่มใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีผลการตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดีมาก   อาการเริ่มแรกของมะเร็งปอดเป็นอย่างไร อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวก้อนมะเร็ง เช่น หากอยู่ใกล้หลอดเลือดและหลอดลมอาจจะมีอาการเหนื่อย ไอเป็นเลือด หากอยู่ในกระดูกจะมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก หากอยู่ในตับอาจจะมีอาการปวดท้อง ตับโต และการทำงานของตับอาจจะผิดปกติ หากอยู่ที่สมองอาจจะมีอาการแขนขาอ่อนแรง เป็นต้นสำหรับอาการทั่วไปที่พบได้บ่อย เช่น มีอาการไอเรื้อรัง เหนื่อย หายใจไม่สะดวก มีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด โดยไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ   สาเหตุของมะเร็งปอด การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่มาเป็นเวลานาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น สูบบุหรี่ 10 มวน/วัน เป็นระยะเวลา 20 […]

GJ E-Magazine เล่มที่ 26

GJ E-Magazine ฉบับที่ 26 (เดือนมกราคม 2567) “โรคที่พบในเด็ก” คลิกที่นี่เพื่ออ่าน   ไฟล์ขนาดใหญ่สำหรับพิมพ์ : คลิกที่นี่

ปอดอักเสบในเด็ก

ปอดอักเสบในเด็ก โดย พญ. พิชญา สถิตพัฒนพันธ์ กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ   รู้จักโรคปอดอักเสบ ปอดบวม / ปอดอักเสบ (Pneumonia) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ เนื้อปอด หลอดลมฝอย อาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย ได้แก่ หายใจแรง หายใจเร็ว หายใจซี่โครงบาน อกบุ๋ม หายใจปีกจมูกบาน กินได้น้อยลง ซึม หลับเยอะกว่าปกติ เหนื่อย แน่นหน้าอก   ไข้หวัด (Common Cold) การติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน อาการไข้ ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูก ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย   การตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติร่างกาย วัดไข้ วัดอัตราการหายใจ วัดออกซิเจนปลายนิ้ว ฟังเสียงปอด NasoPharyngeal Swab หาเชื้อไวรัสเจาะจงเมื่อมีการระบาด ส่งตรวจเพิ่มเติม ตรวจเลือด เอกซเรย์ปอด   การรักษา […]